ความใส่ใจต่อการเข้าถึง (การใช้งานง่าย)

การเข้าถึงเว็บคืออะไร

"การเข้าถึงเว็บ" หมายถึง การที่ทุกคน รวมถึงผู้ที่มีข้อจำกัดการใช้งานหรือไม่คุ้นเคยการใช้งานเว็บไซต์ สามารถใช้ข้อมูลและฟังก์ชันที่เผยแพร่ในเว็บไซต์อย่างสะดวกสบาย

เกี่ยวกับ JIS X 8341-3:2016

มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเข้าถึงเว็บไซต์ JIS X 8341-3:2016 "เนื้อหาเว็บ ส่วนที่ 3: การออกแบบอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ และบริการสำหรับให้ข้อมูลและการสื่อสารโดยคำนึงถึงผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพ" ได้รับการบัญญัติขึ้นในเดือนมิถุนายน 2547 จากนั้นแก้ไขในเดือนสิงหาคม 2553 และ มีนาคม 2559 เพื่อกำหนดข้อควรระวังที่พึงต้องคำนึงถึงสำหรับการวางแผน ออกแบบ ผลิต พัฒนา ตรวจสอบ อนุรักษ์และปรับใช้เนื้อหาเว็บเพื่อให้ผู้ใช้งานรับรู้ ทำความเข้าใจ และใช้งาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพและผู้ประสบปัญหาชั่วคราว"

แนวทางการเข้าถึงเว็บของเว็บไซต์นี้

ขอบข่ายที่ครอบคลุม

หน้าเพจเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลบาริเออร์ฟรีประจำสถานที่ในเมืองนาโกย่า "ข้อมูลนำทางการท่องเที่ยวบาริเออร์ฟรีนาโกย่า"(https://barrierfree.city.nagoya.jp/)
ทั้งนี้ ในส่วนของไฟล์เอกสาร เช่น PDF, Excel และ Word เราจะรวบรวมข้อมูลวิธีการรับประกันการเข้าถึงและสถานะการสนับสนุนของเทคโนโลยีช่วยเหลือโดยจะรับประกันการเข้าถึงเนื้อหาเท่าที่สามารถทำได้

ระดับความสอดคล้องที่ตั้งเป้าหมายไว้

ตามระดับความสอดคล้อง AA ของ JIS X 8341-3:2016
(จะดำเนินการแก้ไขเป็นระยะอย่างต่อเนื่องโดยมีเป้าหมายให้ตรงตามระดับ AA)
หมายเหตุ: การกำหนด "ตรงตามระดับความสอดคล้องขั้น AA" ในเว็บเพจนี้อิงตามคำจำกัดความใน"JIS X 8341-3:2016 , แนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับเนื้อหาเว็บฉบับเดือนมีนาคม 2559" โดยคณะกรรมการโครงสร้างพื้นฐานของการเข้าถึงข้อมูลและการเข้าถึงเว็บ(ลิงก์ภายนอก)

เกี่ยวกับผลลัพธ์การทดสอบการเข้าถึงเว็บและระดับความสอดคล้องในปัจจุบัน

ระดับความสอดคล้องในปัจจุบัน

ตรงตามระดับความสอดคล้องขั้น AA

ระยะเวลาการทดสอบ

1 มีนาคม 2566 ถึง 20 มีนาคม 2566

ผลลัพธ์การทดสอบ

ผลลัพธ์การทดสอบเป็นไปตามมาตรฐาน JIS X 8341-3:2016 (ประกาศเมื่อเดือนเมษายน 2566)

เกี่ยวกับความใส่ใจหลักต่อการเข้าถึงเว็บ

ทางเราได้ใส่ใจต่อวิธีการต่างๆ ในการเข้าถึงเว็บเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ โดยขอแนะนำหัวข้อหลักดังต่อไปนี้

เกี่ยวกับฟังก์ชั่นการทำงานของเว็บไซต์

  • ทางเราให้บริการฟังก์ชั่นขยายตัวหนังสือเพื่อสามารถดูตัวหนังสือที่ใหญ่ขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมพิเศษ (เกณฑ์ความสำเร็จที่เกี่ยวข้องภายใต้มาตรฐาน JIS ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "เกณฑ์ความสำเร็จ 1.4.4")
  • รองรับการควบคุมโดยใช้เพียงแป้นพิมพ์เพื่อให้ผู้ที่ไม่สามารถใช้งานเม้าส์ในการดึงข้อมูลได้ทุกหน้าเพจ (เกณฑ์ความสำเร็จ 2.1.1, 2.1.2 และ 2.1.3)
  • ติดตั้งลิงก์สำหรับกดข้ามไปยังเนื้อหาหลักที่ช่วงต้นของทุกหน้าเพจ เพื่อหลีกเลี่ยงการอ่านช่วงต้นที่มีเนื้อหาเดียวกันซ้ำ เมื่อใช้งานคำอ่านบรรยาย (เกณฑ์ความสำเร็จ 2.4.1)

เกี่ยวกับการสร้างเนื้อหา

  • เขียนเนื้อหาตามหลัก HTML รวมถึงหัวเรื่องและสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย เพื่อให้โปรแกรมต่างๆ เช่น โปรแกรมคำอ่านบรรยายสามารถอ่านเนื้อหาในหน้าเพจได้ (เกณฑ์ความสำเร็จ 1.3.1 และ 4.1.1)
  • เมื่อใช้รูปภาพ จะใช้ข้อความอธิบายข้อมูลรูปภาพ เพื่อให้ผู้ทุพพลภาพหรือมีปัจจัยแวดล้อมที่ไม่สามารถดูรูปภาพ เข้าใจเนื้อหาได้ (เกณฑ์ความสำเร็จ 1.1.1 )
  • จะไม่ใช้การเคาะช่องว่างระหว่างคำหรือเว้นบรรทัดกลางประโยคโดยมีจุดประสงค์ให้รูปแบบเนื้อความเป็นรูปแบบเดียวกันหมดเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อคำอ่านบรรยาย (เกณฑ์ความสำเร็จ 1.3.2)
  • จะคำนึงถึงการไม่ใช้สัญลักษณ์ที่ยึดตามรูปทรงหรือความแตกต่างของตำแหน่ง เช่น การใช้ ○ (วงกลม), × (ตัวคูณ), △ (สามเหลี่ยม) หรือแยกแถวบนและล่าง แต่จะอธิบายเสริมด้วยตัวหนังสือเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาได้แม้ผู้ใช้งานจะไม่สามารถรับรู้รูปทรงหรือตำแหน่งได้เนื่องจากความทุพพลภาพหรือปัจจัยแวดล้อม (เกณฑ์ความสำเร็จ 1.3.3)
  • จะคำนึงถึงการไม่ใช้การอธิบายที่ยึดตามความแตกต่างของสี (เช่น "ส่วนที่ตัวหนังสือสีแดง" หรือ "พื้นที่สีเขียวบนแผนที่")แต่จะอธิบายเสริมด้วยตัวหนังสือเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาได้แม้ผู้ใช้งานจะไม่สามารถรับรู้ความแตกต่างของสีได้ เนื่องจากความทุพพลภาพหรือปัจจัยแวดล้อม (เกณฑ์ความสำเร็จ 1.4.1)
  • การใช้ตารางมีแนวโน้มเป็นอุปสรรคต่อผู้ใช้โปรแกรมคำอ่านบรรยาย จึงหลีกเลี่ยงการใช้ตารางโดยไม่จำเป็นและพิจารณาใช้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยหรือประโยคแทน
    กรณีที่พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะใช้ตาราง จะสร้างเนื้อหาโดยคำนึงถึงลำดับการอ่านสำหรับผู้ใช้คำอ่านบรรยาย (เกณฑ์ความสำเร็จ 7.1.3.1)

เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาการเข้าถึงเว็บ

การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเข้าถึงเว็บไซต์นี้ดำเนินการโดยหน่วยงานวางแผนเพื่อผู้ทุพพลภาพ กองสาธารณสุขและสวัสดิการเมืองนาโกย่า
โปรดติดต่อเราเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะใด ๆ
460-8508 นาโกย่าชิ ซันโนมารุ นากะคุ 3-1-1
หน่วยงานวางแผนเพื่อผู้ทุพพลภาพ กองสาธารณสุขและสวัสดิการเมืองนาโกย่า
หมายเลขโทรศัพท์ : 052-972-2538
หมายเลขโทรสาร :052-951-3999
ที่อยู่อีเมล: a2538@kenkofukushi.city.nagoya.lg.jp